กำชำ ผลไม้บ้านๆ หายากแต่น่ารับประทาน

กำชำ หรือ มะหวด ไม้ป่าหายาก ผลไม้บ้านๆน่ารับประทาน ชื่ออื่นๆ : กำซำ กำจำ ชันรู มะหวดบาท มะหวดลิง ซำ นำซำ มะจำ มะหวดป่า หวดคา สีฮอกน้อย เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์เงาะ ดอกช่อแบบแตกแขนง ผลกลมรี อ่อนเป็นสีเขียว สุกแล้วเป็นสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นดำ

กำชำ หรือ มะหวด ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepisanthes rubiginosa เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Sapindaceae ผิวเปลือกเรียบหรือเป็นแผ่นสะเก็ด สีน้ำตาลอมแดง แตกกิ่งจำนวนมาก ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ขอบใบเรียบ ดอกช่อแบบแตกแขนง แยกเพศไม่แยกต้น กลีบเลี้ยงมีขนสีน้ำตาล กลีบดอกสีขาวอมชมพู ดอกตัวผุ้มีเกสรตัวผู้ 8 อัน ผลเดี่ยว กลมรี อ่อนเป็นสีเขียว สุกแล้วเป็นสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นดำ มีเมล็ดเดียว

สรรพคุณ : ตำรายาไทย

ราก รสเมาเบื่อสุขุม รักษาอาการไข้ ตำพอกศีรษะแก้อาการไข้ปวดศีรษะ ตำพอกรักษาผิวหนังผื่นคัน แก้พิษฝีภายใน ขับพยาธิ วัณโรค แก้พิษร้อน แก้กระษัยเส้นเอ็น ต้มน้ำดื่ม แก้เบื่อเมา รากผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม แก้ซาง (โรคของเด็กเล็ก มีอาการเบื่ออาหาร ซึม มีเม็ดขึ้นในปากและคอ ลิ้นเป็นฝ้า)

เปลือกต้น บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ แก้บิด สมานแผล ใบ แก้ไข้ ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้าดื่มแก้ซาง ใบอ่อน รับประทานเป็นผักได้

ใบ ชาวบ้านใช้ใบรองพื้นและคลุมข้าวที่จะใช้ทำขนมจีนเพื่อกันบูด ใบ ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้ซาง รากใช้แก้ไข้ แก้พิษฝีภายใน ตำพอกที่หัวแก้ไข้และโรคผิวหนัง เมล็ดแก้โรคไอหอบ ซางเด็ก ผล เป็นยาชูกำลัง

ส่วน ผลสุก แก้อาการท้องร่วง บำรุงกำลัง ผลสุก มีรสจืดฝาด ถึงหวาน รับประทานเป็นผลไม้ แก้ท้องร่วง เมล็ด รสฝาด ต้มดื่มแก้ไข้ซาง แก้ไอกรน แก้ไอหอบในเด็ก แก้ไอเรื้อรัง บำรุงเส้นเอ็น

ขอบคุณ ภาพ/ข้อมูล

↗️